วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การศึกษา



คณะที่ใฝ่ฝัน..
คณะศึกษาศาสตร์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


Education KU (Faculty of )




ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1. จิตวิทยาทางการศึกษา
2. หลักสูตรการศึกษา
3. แนะแนวทางการศึกษา
4. การบริหารทางการศึกษา
5. การสอนคณิตศาสตร์
6. การสอนภาษาอังกฤษ
7. การสอนคอมพิวเตอร์ศึกษา
8. เทคโนโลยีทางการศึกษา



มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน









มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตร อันเป็นฐานรากของการดำรงชีวิตแบบไทยตั้งแต่อดีตกาล ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเป็นอันดับที่สามของไทย โดยมีปณิธาณในการก่อตั้งเพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่การกสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศโดยตรง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี พ.ศ. 2447 และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่เป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ มีผลให้วิทยาการทางการเกษตรพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา ใน พ.ศ. 2486 รัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนกับโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนการป่าไม้เดิม จังหวัดแพร่) มาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยแรกเริ่ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการเปิดสอนเฉพาะด้านเกษตรศาสตร์ ต่อมา ได้มีการขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ บริหารธุรกิจ และ ศิลปศาสตร์ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม ในอดีตนิสิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากทุกวิทยาเขต



ชื่อและความหมาย






มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้คำว่า "เกษตรศาสตร์" เป็นชื่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัย และใช้คำว่า "Kasetsart" ในภาษาอังกฤษ "เกษตรศาสตร์" มาจากคำว่า เกษตร (เขต หรือ แผ่นดิน) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับเขตและแผ่นดิน หรือ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Agriculture แปลว่า การเพาะปลูกแบบรูปธรรม มีรากคำมาจากภาษาละตินคือคำว่า agrīcultūra : agrī หมายความถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม และคำว่า cultūra หมายความถึง วัฒนธรรม, สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือการเพาะปลูก คำว่า "เกษตร" อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนั้น มีที่มาจากการที่กระทรวงเกษตราธิการต้องการจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิชาการเกษตรอันเนื่องด้วยวิชาการผลิตและการค้า เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่างๆ ของกระทรวงเป็นการเฉพาะ โดยคำว่า "เกษตร" นั้นถูกจารึกขึ้นในประวัติศาสตร์สยามครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ในปี พ.ศ. 1893 ได้มีการจัดตั้งการปกครองแบบจตุสดมภ์ขึ้น คือ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งตำแหน่งเสนาบดีกรมนาในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า "ขุนเกษตราธิบดี" มีอำนาจทั้งทางบริหารและอำนาจตุลาการใน"การจัดการเรื่องที่ดินและชลประทาน" เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การเลี้ยงชีพ การผลิตและการค้ากับนานาประเทศ ภายหลังจึงมีการเปลี่ยนชื่อกรมนา เป็นกระทรวงเกษตรพนิชการ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงเกษตรพาณิชยการ, กระทรวงเศรษฐการ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงเกษตร จนมาสู่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับส่วนคำว่าเกษตรตามความหมายพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำจำกัดความไว้ว่า เกษตร [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; ซึ่งความหมายในโบราณกาลว่า เขต, แดน (ในภาษาสันสกฤตจะใช้คำว่า เกฺษตฺร ส่วนภาษาบาลีจะใช้คำว่า เขตฺต). เช่นคำว่า พุทธเกษตร (พุทธ+เกษตร) แปลความหมายว่า ดินแดนแห่งพุทธ กษัตริย์ (เกษตร+ขัตติย) แปลความหมายว่า ผู้ปกครองแผ่นดิน ในระหว่าง พ.ศ. 2518 ได้มีการวิ่งเต้นขอให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง โดยอ้างเหตุผลนานัปการ ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแถลงข่าวโจมตีซึ่งกันและกัน ระหว่างฝ่ายที่อยากให้เปลี่ยนชื่อและไม่ประสงค์ให้เปลี่ยนชื่อ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้นิสิตหยุดเรียนครึ่งวันเพื่อจัดทำประชามติในเรื่องนี้ ภายหลังจึงมีการเห็นสมควรให้มีการใช้ชื่อ เกษตรศาสตร์ เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการระลึกและย้ำเตือนถึงศาสตร์อันเป็นรากฐานวัฒนธรรม ความรู้ และวิทยาการของแผ่นดินไทย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสถึงความหมายของคำว่าเกษตรศาสตร์ตามชื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไว้ว่า คำว่าเกษตรศาสตร์ อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนี้นั้น ฟังดูมีความหมายจำกัดอยู่เพียงการทำนา แต่ความจริง เกษตรศาสตร์ ตามความหมายในปัจจุบัน กินความกว้างขวางมาก คือรวมเอาวิชาหรือศาสตร์ทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจิตใจของมนุษย์เข้าไว้เกือบทั้งหมด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงสอนวิชาการสาขาต่าง ๆ มากมายหลายสาขา ทั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์ ทั้งฝ่ายศิลปศาสตร์ เรียกได้ว่าครบถ้วนที่จะเป็นมหาวิทยาลัยในความหมายสากลอย่างสมบูรณ์ คำ "เกษตรศาสตร์" ที่เป็นวิสามานยนามอันเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้ อ่านว่า "กะ-เสด-สาด" แต่ในกรณีที่หมายถึงวิชาว่าด้วยการเกษตร คำนี้อ่านว่า "กะ-เสด-ตฺระ-สาด"




ตราประจำมหาวิทยาลัย




ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เล่มที่ 114 ตอนพิเศษ 104 ง [34] ตราประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง วงนอกสุดด้านบน มีข้อความว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านล่างมีข้อความว่า พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นตัวอักษรไทย ข้อความทั้งสองคั่นด้วยตราประจำยาม 2 ลาย วงที่ 2 มีกลีบบัวหงายและบัวคว่ำ สลับซ้อนกันอย่างละ 24 กลีบ และวงในสุดมีองค์พระพิรุณทรงนาคอยู่กึ่งกลาง พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์แสงชัยพระหัตถ์ซ้ายปางประธานพร พระยานาคพ่นน้ำออกมา 3 สายและมีลายกนก 3 ลาย
ตราของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี พ.ศ. ที่ก่อตั้งอยู่ในดวงตราด้วยเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ในประเทศไทย

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2509 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร แต่งคำร้องถวาย

สีประจำมหาวิทยาลัย
สีเขียวใบไม้

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
"ต้นนนทรี" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นนนทรี จำนวน 9 ต้น ณ บริเวณหน้าหอประชุม มก. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506เวลา 15.30 น

วิทยาเขตบางเขน


เป็นวิทยาเขตหลัก ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 15 คณะ 1 วิทยาลัย ได้แก่
คณะเกษตร
คณะบริหารธุรกิจ
คณะประมง
คณะมนุษยศาสตร์
คณะวนศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะอุตสาหกรรมเกษตร
คณะเทคนิคการสัตวแพทย์
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น