วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กีฬา

"ฝึกจุดเด่น เน้นจุดด้อย"


เมื่อนักกีฬาซ้อมเบสิคต่างๆ มาระยะหนึ่งแล้ว เมื่อมีเวลาว่างให้ลองคิดดูว่าที่ผ่านมานั้น เราชอบฝึกอะไร ถนัดลูกไหน ไม่ถนัดอะไร หรือไม่อยากซ้อมอะไร เมื่อหาข้อมูลของตัวเองจนพบแล้ว ก็ลงมือฝึกซ้อมใหม่ โดยยึดหลัก...

ฝึกจุดเด่น เน้นจุดด้อย

อย่าเน้นแต่ฝึกในสิ่งที่เราชอบหรือถนัดเพียงอย่างเดียว สิ่งไหนไม่ถนัดและรู้สึกว่าไม่ชอบต้องฝึกซ้อมให้มากขึ้น มิฉะนั้นจะเป็นผลเสียต่อการเล่นปิงปองในอนาคตครับ





"โต๊ะเทเบิลเทนนิส"

1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาว 2.74 เมตร ( 9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร ( 5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นผิวโต๊ะสูง 76 เซนติเมตร ( 2 ฟุต 6 นิ้ว )
1.2 พื้นผิวโต๊ะให้รวมถึงขอบบนสุดของโต๊ะ แต่ไม่รวมถึงด้านข้างของโต๊ะที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา
1.3 พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใดๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอ เมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานทิ้งลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร ลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร
1.4 พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและเป็นสีด้านไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้านจะทางด้วยสีขาว มีความกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตรทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นข้าง” เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นสกัด”
1.5 พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดนเท่าๆ กัน กั้นด้วยเน็ตซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด
1.6 สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กันด้วยเส้นสีขาวขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้างเรียกว่า “เส้นกลาง” และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ตด้านขวาของโต๊ะด้วย
1.7 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากลโต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และในการจัดการแข่งขันจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง





" สำหรับการฝึกท่าการเตรียมพร้อมมีดังนี้ "

1. ขา
ระยะห่างระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง อย่างน้อยที่สุดควรจะห่างเท่ากับระยะห่างระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้างของตัวเรา ไม่ควรที่จะแคบกว่าระยะห่างของไหล่เรา เพราะจะทำให้ทรงตัวได้ไม่ดี เมื่อเคลื่อนที่จะทำให้เสียหลักได้ง่าย

2. ปลายเท้า
ปลายเท้าควรจะชี้ไปข้างหน้าตามธรรมชาติปกติของลักษณะเท้าของเรา ไม่ควรชี้ออกด้านข้างลำตัวหรือชี้เข้าหาลำตัว เพราะกีฬาปิงปองจะมีการเคลื่อนที่ในด้านข้างมากที่สุด และที่สำคัญน้ำหนักตัวของเราควรจะให้อยู่ที่บริเวณปลายเท้าตลอดเวลา ไม่ควรจะปล่อยให้น้ำหนักตักตกอยู่ที่ส้นเท้า เพราะจะทำให้เคลื่อนที่ได้ช้า

3. เข่า
ส่วนเข่า ควรจะย่อลงเล็กน้อยพอสมควร ห้ามตึง เพราะจะทำให้การเคลื่อนที่ไม่สะดวก และไม่มีแรงส่งเมื่อต้องก้าวเท้าในระยะทางไกลๆ

4. ลำตัว
ลำตัวควรเอียงไปด้านหน้า เพื่อให้สมดุลกับน้ำหนักที่ลงที่ปลายเท้าและหัวเข่า

5. มือ
มือที่ถือไม้ปิงปองควรจะอยู่ที่กลางลำตัว ปลายไม้ชี้ไปข้างหน้า และพร้อมที่จะใช้ทั้ง 2 ด้านตีลูก หากคู่ต่อสู้ตีมาด้านใดก็ตาม

6. ตา
สายตามองที่หน้าไม้ของผู้ต่อสู้ , ทิศทางการเคลื่อนที่ของผู้ต่อสู้ และมองลูกตั้งแต่ออกจากหน้าไม้ของคู่ต่อสู้จนมากระทบหน้าไม้ของเรา ตลอดเวลา





สำหรับนักกีฬาที่ถนัดมือขวา ตำแหน่งที่ยืน ควรจะยืนอยู่ที่มุมด้าน BACK HAND ของตนเอง และนักกีฬาที่ถนัดมือซ้าย ตำแหน่งที่ยืนควรจะยืนที่อยู่มุมด้าน BACK HAND ของตนเอง






"ท่าเตรียมพร้อมในการเล่นปิงปอง"

ก่อนรับลูกเสริฟทุกครั้ง หรือก่อนจะตีลูกใดๆ ก็ตาม นักกีฬาจะต้องเตรียมท่าทางของตนเองให้พร้อมก่อนที่จะเล่นทุกครั้ง เพราะหากเรารักษาท่าทางก่อนเล่นได้ดีและถูกต้อง จะช่วยให้เราตีลูกต่างๆ ที่กำลังจะตีนั้น ได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อตีลูกไปแล้ว นักกีฬาจะต้องกลับมายังท่าเตรียมพร้อมเพื่อจะตีลูกต่อไปทุกๆ ครั้ง










2. การจับไม้แบบจับปากกา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จับแบบไม้จีน” CHINESE STYLE

การจับไม้แบบนี้จะเป็นที่นิยมกันมากในนักกีฬาแถบทวีปเอเซียของเรา ได้แก่ จีน , ญี่ปุ่น , เกาหลี สำหรับนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบนี้จะถนัดในการเล่นด้านโฟร์แฮนด์ได้ดีเป็นพิเศษ อีกทั้งจะต้องมีการเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งชาวเอเซียเราส่วนใหญ่ตัวเล็กและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว การจับไม้แบบไม้จีน จึงเป็นที่นิยมกันแถบเอเซีย สำหรับในยุโรปแล้วมีนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบนี้กันน้อยมาก เพราะนักกีฬายุโรปมักจะเคลื่อนที่ได้ช้า และการจับไม้แบบไม้จีนจะมีจุดอ่อนอยู่ที่ด้าน Back hand เพราะไม่สามารถเล่นลูก TOP SPIN ได้สะดวก แต่ปัจจุบันนี้ประเทศจีนได้คิดค้นวิธีการตีแบบใหม่ ซึ่งทำให้วิธีการจับไม้แบบไม้จีนมียุทธวิธีในการตีลูกได้รุนแรงและหลากหลายมากยิ่งขึ้น คือการใช้ด้านหลังมือตี ซึ่งอดีตที่ผ่านมาด้านนี้จะไม่ค่อยได้ใช้ในการตีลูก นักกีฬาจีนยุคใหม่จะถนัดในการเล่นลูกหลังมือนี้มากขึ้น เพราะสามารถเล่นได้ลูก TOP SPIN และ ลูกตบได้ดีอีกด้วย นับเป็นอาวุธใหม่สำหรับนักกีฬาจีนไว้ปราบนักกีฬาที่จับไม้แบบสากลโดยเฉพาะ





"การจับไม้ปิงปอง"

วิธีการจับไม้ปิงปอง

การจับไม้ปิงปองโดยทั่วไปจะมีวิธีการจับแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. การจับไม้แบบสากล SHAKE HAND

การจับไม้ปิงปองวิธีนี้เป็นที่นิยมกันทั่วโลก มีวิธีการจับไม้ที่คล้ายกับการจับมือทักทายกันของชาวยุโรป สำหรับการจับไม้แบบนี้จะเหมาะสำหรับนักกีฬาที่ถนัดทั้งในการเล่นด้านโฟร์แฮนด์ Fore hand (หน้ามือ) และ ด้านแบ๊คแฮนด์ Back hand (หลังมือ) การจับไม้แบบสากลนี้จะเหมาะสำหรับการเล่นลูกต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะลูก TOP SPIN , BACK SPIN , SIDE SPIN ซึ่งการตีลูกต่างๆ นั้นจะไม่ฝืนธรรมชาติเหมือนกับการจับไม้แบบไม้จีน แต่การจับไม้แบบนี้มักจะมีจุดอ่อนอยู่ที่กลางลำตัวเพราะเมื่อคู่ต่อสู้ตีเข้ากลางตัว หากเพราะหากฝึกมาไม่ดีจะทำให้ตัดสินใจได้ยากว่าจะใช้ด้านใดในการตีลูก





ลักษณะท่าทางในการเล่นๆ ๆๆ





"สิ่งที่ต้องฝึกในกีฬาปิงปอง"


ดังที่เราได้ทราบถึงลักษณะธรรมชาติทั่วไปของกีฬาปิงปองมาแล้วนั้นจึงพอจะสรุปสิ่งที่เราจะต้องฝึกฝนในการเล่นกีฬาปิงปองให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประสิทธิภาพที่จะต้องฝึกฝน มีดังต่อไปนี้

1. ความหมุน 2. ความเร็ว 3. ความแน่นอน 4. ความต่อเนื่อง

คำอธิบายเพิ่มเติม

1. ความหมุน คือ การฝึกตีลูกปิงปองให้เกินความหมุนแบบต่างๆ ซึ่งจะต้องฝึกฝนและเรียนรู้ความหมุนที่มีอยู่ทั้งหมดให้ครบถ้วน โดยฝึกตีให้ได้ทั้งความหมุนที่มากที่สุด จนถึงสามารถฝึกตีลูกให้หมุนน้อยๆ ก็ได้ด้วย

2. ความเร็ว คือ การฝึกตีลูกปิงปองให้เคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วสูง และ การฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกายที่รวดเร็ว รวมถึงการฝึกการคิดและการตัดสินใจที่ต้องรวดเร็วอีกด้วย

3. ความแน่นอน คือ การฝึกตีลูกปิงปองไปยังตำแหน่งต่างๆ บนโต๊ะของผู้ต่อสู้ที่ทุกจุดและแม่นยำ

4. ความต่อเนื่อง คือ การฝึกตีลูกปิงปองไปมาให้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าคู่ต่อสู้จะตีมารูปแบบใด เราจะต้องตีลูกปิงปองกลับไปให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา






"ประโยชน์ของกีฬาปิงปอง"

กีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้นั้น ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งพื้นที่บนฝั่งตรงข้ามมีเพียง พื้นที่ แค่ 4.5 ฟุต X 5 ฟุตเท่านั้น และลูกปิงปองยังมีความเบามาก เพียง 2.7 กรัม เท่านั้น และความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ยังใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาทีอีกต่างหาก แถมลูกปิงปองที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น ยังมีความหมุนรอบตัวเองอีกด้วย ซึ่งลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนที่มาหาเรานั้น เราจะต้องตีกลับไปอีกด้วย เพราะไม่ตี หรือ ตีไม่ได้ ก็หมายถึงการเสียคะแนนทันที

แต่ในความยากนั้น ก็ย่อมมีประโยชน์สำหรับผู้เล่นเหมือนกัน เพราะ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายร่วมกันทั้งหมด





ซึ่งส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ มีดังนี้

1. สายตา
สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา แต่การจ้องลูกอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ เพราะจะต้องจ้องมองและสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้อีกด้วยว่า ตีลูกความหมุนลักษณะใดมาหาเรา

2. สมอง
ปิงปอง เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นอีกด้วย

3. มือ
มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่วและว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้

4. ข้อมือ
ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะมีความหมุนมากยิ่งขึ้น

5. แขน
ต้องมีพลกำลังและมีความอดทนในการฝึกซ้อมที่ต้องซ้อมแบบซ้ำและซ้ำอีก

6. ลำตัว
การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย

7. ต้นขา
แน่นอนว่าเมื่อกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่มีความเร็วสูง ต้นขาจึงต้องแข็งแรง และเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

8. หัวเข่า
ต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่

9. เท้า
ต้องเคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปองตลอดเวลา หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ไม่มีฟุตเวิร์ด และตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

จะเห็นได้ว่า กีฬาเทเบิลเทนนิสจะใช้ทุกส่วนของร่างกายในการเล่น เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีความรวดเร็วนั่นเอง และยังไม่รวมถึงจิตใจที่จะต้องมีความเข้มแข็ง อดทน ทั้งในการฝึกซ้อม และ จิตใจที่จะต้องเป็นนักสู้เมื่อลงทำการแข่งขัน เพราะเป็นกีฬาประเภทบุคคลที่จะต้องพึ่งความสามารถของตนเองมากกว่าที่จะต้องอาศัยเพื่อนร่วมทีม ดังเช่นกับกีฬาประเภททีมอื่นๆ






"ประวัติกีฬาปิงปอง "

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง
จากการศึกษาประวัติยังม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้ขึ้นมา และไม่ทราบว่าต้นกำเนิดนั้นมาจากประเทศใด เพราะมี หลายประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา อินเดีย และแอฟริกาใต้ ก็อ้างว่ามาจากประเทศเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับว่า เริ่มขึ้นครั้งแรกใน ประเทศอังกฤษ เพราะมีหลักฐานว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ในประเทศ อินเดียและแอฟริกาใต้ นำมาเล่นกัน และอีกหลักฐานหนึ่งคือ เคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักอังกฤษในสมัยศตวรรษที่ 12 เนื่องจากเทเบิลเทนนิส เป็นกีฬาที่มี กฎเกณฑ์น้อย ใช้อุปกรณ์ที่หาง่าย ราคาถูก และเล่นง่ายจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากคนทุกระดับ ในประเทศอังกฤษสมัย พระเจ้ายอร์จที่ 6 ถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโต๊ะเทเบิลเทนนิสขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัด กีฬาเทเบิลเทนนิสนี้ไว้ให้พระธิดา (เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ) ได้ทรงเล่นเป็นที่สนุกสนานในพระราชวังบัลมอรอล นอกจากนี้ พระเจ้าซาร์แห่งเปอร์เซียบัณฑิตเนรูห์แห่งอินเดียและกษัตริย์ฟาร์คแห่งอิยิปต์ในอดีตต่างก็ทรงส่งเสริมกีฬาเทเบิลเทนนิส กันทั้งสิ้น
จากหนังสือประวัติก๊ฬาของ Frank Menke ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับกำเนิดของเทเบิลเทนนิสไว้ 2 ประการ คือ 1. อาจเป็นกีฬาในร่มของเทนนิสซึ่งได้เริ่มเล่นเป็นครั้งแรกในมลรัฐแมสซาชูเซ็ต ประมาณปี ค.ศ. 1890 2. สันนิษฐานว่านายทหารชาวอังกฤษซึ่งไปประจำอยู่ที่ประเทศอินเดียได้เคยเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬากลางแจ้งมาก่อน และอีก ความเห็นหนึ่งคือ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในประเทศจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น