วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยว

" พระราชวังบางปะอิน "


อำเภอบางปะอิน

พระราชวังบางปะอิน, วัดนิเวศธรรมประวัติ , วัดชุมพลนิกายาราม






พระราชวังบางปะอิน

ตั้งอยู่ในอำเภอบางปะอิน ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กม. โดยใช้เส้นทางที่แยกจากเจดีย์สามปลื้มผ่านวัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง ไปยังบางปะอิน หากมาจากกรุงเทพฯ ตามถนนพหลโยธิน จะมีทางแยกซ้ายบริเวณกม.ที่35 ไปพระราชวังบางปะอินเป็นระยะทางอีก 6 กม. นอกจากนี้ยังมีบริการรถโดยสารจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และรถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมายังอำเภอบางปะอินทุกวัน พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ไม่เว้นวันหยูดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น.อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก-นิสิต นักศึกษา (ในเครื่องแบบ)-พระภิกษุ สามเณร 20 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 50 บาท ผู้ที่ประสงค์จะเข้าชมโปรดแต่งกายสุภาพ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สำนักพระราชวังบางปะอิน โทร. (035) 261044, 261549






ภายในพระราชวังบางปะอินมีสิ่งที่น่าสนใจ

พระที่นั่งไอศวรรยทิพยอาสน์
เป็นปราสาทอยู่กลางสระ สร้างในรัชกาลที่ 5 เดิมสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ต่อมา รัชกาลที่ 6 โปรดฯให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด





พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร

อยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับสระน้ำ เป็นพระที่นั่งเรือนไม้หมู่ทั้งชั้นบนและชั้นล่างมีเฉลียงตามแบบชาเลตของสวิส ทาสีเขียวอ่อนแก่สลับกันด้วยงานช่างที่ประณีต สิ่งประดับตกแต่งภายใน ประกอบด้วย เครื่องไม้มะฮอกกานีจัดสลับลายทองทับที่สั่งจากยุโรปทั้งสิ้น นอกนั้นเป็นสิ่งของหายากในประเทศ อันเป็นเครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาเขตรอบๆ มีสวนดอกไม้สวยงาม เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรได้เกิดเพลิงไหม้ ขณะที่มีการซ่อมรักษาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ทำให้พระที่นั่งถูกทำลายไปกับกอง เพลิงหมดสิ้นทั้งองค์คงเหลือแต่หอน้ำ ปัจจุบันได้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิมทุกประการ แต่เปลี่ยนวัสดุจากไม้เป็นอาคารคอนกรีตแทน





หอวิฑูรทัศนา

เป็นพระที่นั่งหอสูงยอดมน ตั้งอยู่กลางเกาะน้อยในสวนเขตพระราชวังชั้นในระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรกับพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่ง 3 ชั้น มีบันไดเวียน เป็นหอส่องกล้องชมภูมิประเทศบ้านเมืองโดยรอบสร้างในรัชกาลที่5 เมื่อปี พ.ศ. 2424





พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ

ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพระราชวังถัดจากหอวิฑูรทัศนาขึ้นไป พระที่นั่งองค์นี้มีนามเป็นภาษาจีนว่า "เทียน เม่ง เต้ย" (เทียน=เวหา, เม่ง=จำรูญ, เต้ย=พระที่นั่ง) ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "เก๋งจีน" เพื่อเป็นพระที่นั่งสำหรับประทับ ในฤดูหนาว โดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนในไทยสร้างถวาย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2432 ลักษณะเป็นพระที่นั่งศิลปะ แบบจีน ที่มีลายแกะสลักได้อย่างงดงามวิจิตรยิ่ง โถงด้านหน้าปูด้วยกระเบื้อง แบบกังไส เขียนภาพด้วยมือทุกชิ้น แม้ว่าภาพจะเหมือนกันแต่เนื่องจากเป็นงานฝีมือ จึงมีความแตกต่าง กันในรายละเอียดที่ทำให้ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง ปัจจุบันเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้






พระที่นั่งวโรภาษพิมาน

เป็นท้องพระโรงอยู่ทางตอนเหนือของ "สะพานเสด็จ" ซึ่งเป็นท่าน้ำสำหรับเสด็จพระราชดำเนินขึ้นลง เดิมเป็นเรือนไม้สองชั้น เป็นที่ตั้งประทับและท้องพระโรงร่วมกัน ต่อมารัชกาลที่5 โปรดฯให้รื้อสร้างใหม่เป็นอาคารทรงวิหารกรีกแบบคอรินเธียรออร์เดอร์ ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออก ขุนนางในงานพระราชพิธี สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2419 เคยเป็นที่รับรองแขกเมืองหลายครั้ง เช่นปี พ.ศ. 2436 รับรองพระเจ้าชาร์ลคลัสแห่งประเทศรัสเซีย ปี พ.ศ. 2436 รับรองมองซิเออราวีร์ ฑูตฝรั่งเศส และปี พ.ศ. 2452 รับรองดุ๊กและดัชเชสโยฮันเบรต แห่งเมืองบรันทวีท แห่งประเทศเยอรมัน ถึงในปัจจุบัน ก็ยังใช้เป็นที่รับรองแขกเมืองสำคัญอยู่เสมอ สิ่งสำคัญในพระที่นั่งเป็นภาพชุดพระราชพงศาวดาร กับภาพเรื่องอิเหนา พระอภัยมณีและรามเกียรติ์





หอเหมมณเฑียรเทวราช

เป็นปรางค์ศิลาในเขตพระราชวังชั้นนอกริมสระใต้ต้นโพธิ์ เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปรัชกาลที่ 5 ทรงสร้างขึ้นแทนศาลเดิมที่ชาวบ้านสร้างไว้ อุทิศถวายพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2422





อนุสาวรีย์พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์และเ จ้าฟ้าสามพระองค์
หรือ อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์

ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเศร้าโศก เสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง อีกครั้งหนึ่ง ด้วยทรงสูญเสียพระอัครชายาเธอฯ พระราชโอรสและพระราชธิดาถึง 3 พระองค์ ในปีเดียวกัน คือ สมเด็จเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ เมื่อวัน พฤษภาคม พ.ศ. 2430 พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ เมื่อวันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2430 สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัตมณีชัย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430 และสมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตมดำรง เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2430 ดังนั้นในปี พ.ศ. 2431 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ ที่ระลึกทำด้วยหินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนไว้ใกล้กับ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี


อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม)

ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวัง ก่อสร้างด้วยหินอ่อนก่อเป็นแท่ง 6 เหลี่ยม สูง 3 เมตร บรรจุพระสริรังคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์พระมเหสีในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว





วัดนิเวศธรรมประวัติ

ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้คนละฝั่งกับพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เมื่อ พ.ศ. 2421 อาคาร และการตกแต่งทำแบบ โกธิค มีกระจกสีประดับ อย่างสวยงาม ภายในเป็นแบบฝรั่ง แม้แต่ฐานที่ประดิษฐาน พระประทาน คือ พระพุทธนฤมลธรรโมภาสและพระสาวกก็ไม่ได้ทำเป็นฐานชุกชีอย่างในโบสถ์ทั่วไป แต่ทำเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ ช่องหน้าต่างที่เจาะไว้ก็เป็นหน้าต่างโค้งที่ฝาผนังโบสถ์ด้านหน้าพระประธานจะเห็นภาพประดิษฐ์กระจกสีเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 ด้านขวามือของ พระอุโบสถนั้นมีหอแห่งหนึ่ง คือ หอประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางขอฝนตรงข้ามกับหอพระคันธารราษฎร์เป็นหอประดิษฐานพระ พุทธศิลาเก่าแก่ปางนาคปรกอันเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรีฝีมือช่างขอมอายุเก่าแก่นับพันปี พระนาคปรกนี้อยู่ติดกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ใหญ่ที่แผ่กิ่งไปทั่วบริเวณหน้าพระอุโบสถ ถัดไปอีกไม่ไกลนักเป็นหมู่ศิลาชนิดต่างๆ ที่มีในประเทศไทย เป็นที่บรรจุอัฐิเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และราชสกุลดิศกุล เมื่อเข้าชมพระราชวังบางปะอินแล้ว สามารถข้ามไปชมวัดนิเวศธรรมประวัต ิได้โดยกระเช้าสำหรับส่งผู้โดยสารประมาณครั้งละ 6-8 คน ค่าโดยสารแล้วแต่บริจาค



" วัดท่าการ้อง "








วัดท่าการ้อง ต้นแบบ "สวนสวย ส้วมสะอาด"

แทบไม่อยากเชื่อว่าเมื่อเดินเข้าไปที่วัดแห่งนี้แล้ว เหมือนกับกำลังเดินอยู่ในรีสอร์ตที่ไหนสักแห่ง

เพราะที่วัดนี้ มีการตกแต่งจัดภูมิทัศน์สถานที่อย่างสวยงาม ด้วยสวนสวยที่ร่มรื่นและรูปปั้นดินเผาหลากรูปแบบ ผิดไปจากวัดทั่วๆไป สร้างความน่าสนใจให้วัดแห่งนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นวัดที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร แม้เนื้อที่วัดจะมีเพียงน้อยนิดก็ตาม


เมื่อเดินเข้าไปที่วัดท่าการ้อง ก่อนเข้าโบสถ์ หลวงพ่อยิ้ม จะได้ยินเสียงมัคนายกซึ่งมีดีกรีเป็นถึง ผอ.โรงเรียน ร้องเรียกเชิญชวนให้ผู้มาเที่ยววัดดื่ม น้ำเย็นที่มีไว้บริการฟรี ถ้าร้อนนักก็แจกผ้าเย็นให้ เช็ดเหงื่อไคลที่ไหลย้อย มองดูแล้วเข้าท่า เรียกว่าบริการทุกระดับประทับใจ






ผู้เป็นเจ้าของไอเดีย "สวนสวย ส้วมสะอาด ใช้ธรรมชาติผสานธรรมะ ดึงพุทธศาสนิกชนเข้าวัด" นั้นไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นพระครูสุทธิปัญญาโสภณ เจ้าอาวาสวัดท่าการ้อง ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นี่เอง พระครูฯได้เผยถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้วัดท่าการ้อง จากเดิมที่เป็นวัดร้าง กลายเป็นวัดยอดนิยมที่มี ผู้คนมาเที่ยวกราบไหว้พระมากแห่งหนึ่งและเป็น 1 ในโครงการไหว้พระ 9 วัด ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า หลังจากมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้ เมื่อปลายปี 2543 เห็นสภาพของวัด มีพระพำนักอยู่เพียงรูปเดียว เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่ของชุมชนชาวมุสลิมและขาดการบูรณะมานาน จึงมีความคิดว่าจะทำอย่างไร ที่จะทำให้วัดนี้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปและให้คนมาทำบุญกราบไหว้พระที่ วัดนี้มากขึ้น


คิดไปคิดมาความคิดก็มาหยุดลงที่เรื่อง "ส้วม" เป็นอันดับแรก จึงสร้างส้วมให้ สะอาด ถูกสุขลักษณะ แถมยังติดแอร์เย็นฉ่ำ ตกแต่งประดับประดาด้วยม่านระย้าใน ห้องส้วมอย่างสวยงาม เป็นที่แปลกตาและน่าสนใจของผู้มาเที่ยว ที่สำคัญท่านเจ้าอาวาส ยังจัดห้องส้วมสำหรับบรรดา "ชายไม่จริงหญิงไม่แท้" ไว้ปลดทุกข์อีกต่างหาก






หลังจากเรื่อง "ส้วม" ประสบผลสำเร็จ เพราะผู้คนจากทุกสารทิศที่มาพบเห็น ต่างพากันกล่าวขวัญกันไปทั่วประเทศแล้ว ทำให้มีผู้ทำบุญบริจาคเงินกับ วัดมาบ้าง จึงหันมาขยายพื้นที่ออกไปอีกเล็กน้อยและพัฒนาเรื่องสิ่งแวดล้อม จัดสวนสวยด้วยไม้ดอกไม้ ประดับและไม้ยืนต้นนานาชนิด โดยออกแบบเองทั้งหมด เพราะมีความชอบและเป็นคนรักต้นไม้ สร้างความร่มรื่นให้กับวัด เป็นการใช้ธรรมชาติเป็นสื่อเข้าถึงธรรมะ จะทำให้คนที่เข้ามาวัดพบกับความสะอาดตาเย็นกายเย็นใจและที่สำคัญคนเรา ต้องอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ เพราะหากขาดธรรมชาติหรือเมื่อธรรมชาติหมดไปเมื่อใด เมื่อนั้นเราก็จะพบกับความทุกข์






ในแต่ละวันจะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศแห่มาไหว้พระ ชมส้วม ดูสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันนักขัตฤกษ์ จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แห่มาดูส้วมและสวนที่วัดแห่งนี้กันอย่างล้นหลามเลยทีเดียว สวนที่นี่ไม่ใช่จัดครั้งเดียวแล้วอยู่ไป 10 ปี แต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบย้ายโน่นจัดนี่เพิ่มนั่นกันแทบทุกเดือน เพื่อให้คนที่มาเที่ยววัด ไม่ต้องพบกับความซ้ำซากและรูปแบบเดิมๆ





นอกจากสวนสวย ส้วมสะอาด ปราศจากกลิ่นเหม็น จนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็น "ส้วมดีเด่น" แล้ว ภายในบริเวณวัดยังมีรูปปั้นหลวงปู่โต หลวงปู่ทวด ครูบาศรีวิชัย สมเด็จพระเจ้าตากสิน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระพิฆเนศวร องค์ท้าวจตุคามรามเทพ เจ้าแม่กวนอิมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกหลายหลาก ถามไถ่ได้ความว่าเป็นเพราะคนมาวัดท่าการ้องนี้ มีจากทั่วสารทิศ เจ้าอาวาสท่านจึงจัดให้ เพื่อใครที่นับถืออะไร จะได้ถือโอกาสกราบไหว้สักการะไปทีเดียว ไม่ต้องเดินทางไปหลายที่ให้เสียเวลา หากมีเวลาให้เดินดูข้อคิดคติธรรม ที่เขียนติดไว้ตามต้นไม้ เตือนใจผู้คนทั้งหลาย




แต่ที่น่ารักและเป็นที่สะดุดตาของผู้มาที่วัดท่าการ้องแห่งนี้ ที่ใครเห็นแล้วเป็นต้องอมยิ้ม คือบรรดารูปปั้นเณรน้อยที่ยืนอุ้มบาตร อยู่หน้าโบสถ์ที่ประดิษฐานหลวงพ่อยิ้ม เพราะบรรดารูปปั้นเณรน้อยที่ยืนยิ้มแฉ่งอยู่นี้ พากันใส่แว่นตาทุกองค์ เมื่อถามถึงเหตุผลก็ได้รับคำตอบว่า เป็นเพราะคนสูงอายุส่วนใหญ่ที่มาที่วัดท่าการ้องนี้ เมื่อไหว้พระเสร็จแล้วก็จะลืมแว่นตากันเป็นประจำ พระในวัดจึงนำมาใส่ให้กับเณรน้อยเพื่อเป็นการเตือนใจให้คนไม่ลืมแว่น นับว่าเป็นไอเดียที่เข้าท่าและน่ารักมั่กๆ ใครเห็นเณรน้อยใส่แว่นยืนยิ้มหน้าบานนี้แล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะต้องเข้าไปยืนถ่ายรูปด้วยแทบทุกคน ซึ่งเณรน้อยรูปปั้นดินเผาทั้งหมดนี้ หาได้มีวางขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปไม่ แต่เกิดจากความคิดของเจ้าอาวาสที่ออกแบบเองแล้วสั่งให้คนขายปั้นตามใจที่ ต้องการ





"ประวัติวัดท่าการ้อง"

วัดท่าการ้อง เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยอยุธยา สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2092 ประมาณ 450 ปี เศษมาแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในปี พ.ศ. ใด สันนิษฐาว่าคงเป็นวัดที่ราษฎรสร้าง เพราะไม่ปรากฏรายชื่อพระอารามหลวงสมัยอยุธยา ตามบันทึกพระราชพงศาวดาร วัดท่าการ้องมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยามากมาย

· วัดท่าการ้องได้เป็นที่ฝึกฝนศิลปะแม่ไม้มวยไทยของนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งคือ นายขนมต้ม

· ในเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน มีการบันทึกว่า ขุนไกร และสามเณรพลายแก้ว ได้มาอุปสมบทที่วัดท่าการ้อง ตอนที่ขุนแผนถูกจองจำ ณ กรุงศรีอยุธยา ณ วันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน เวลาบ่าย 4 โมง พม่ายิงปืนสูงวัดการ้องระดมเข้ามา ณ กรุงศรีอยุธยาแล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกำแพงทรุดลง

· ในปี 2309 วัดท่าการ้องได้เคยเป็นที่ตั้งค่ายของพม่าค่ายหนึ่งก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา จนมีคำกล่าวว่า ".. นกกาจากวัดการ้อง บินไปเสียบอก ณ ยอดพระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ ใจกลางกรุงศรีอยุธยา น้ำตาหลวงพ่อโต วันพนัญเชิง ไหลนองพระเนตร อันเป็นลางบอกเหตุสิ้นแล้วแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา

· ในสมัยเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดท่าการ้อง ได้ถูกจ้ดให้เป็นโรงเรียนนายร้อยฝ่ายช่างเทคนิค รุ่น 10-12 เป็นการชั่วคราว โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นห้องเรียน และเป็นที่พักอาศัยก่อนที่จะถูกปล่อยทิ้งขาดการเอาใจใส่ดูแลเป็นเวลานานจนทำให้ทรุดโทรมลงในที่สุด





จุดเด่นของวัดท่าการ้อง

· เป็นวัดเก่าแก่ สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ท่ามกลางชุมชนอิสลาม 2 หมู่บ้านคือ บ้านท่า กับ บ้านการ้อง อันเป็นวัดพุทธศาสนาที่อยู่ท่ามกลางชุมชนมุสสิม ล้อมรอบทั้งตำบล

· ประธานสมัยอยุธยาที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนเคารพนับถือมาก คือหลวงพ่อรัตนมงคล (หลวงพ่อยิ้ม)

· ศาลากลางเปรียญ เป็นอาคารทรงไทยไม้สัก สร้างสมัยอยุธยา

· เจ้าอาวาสปัจจุบัน : พระครูสมุห์ประยูร สุทธิปุญโญ เป็นนักพัฒนา จากวัดที่ทรุดโทรม มาเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน




นอกจากสวนสวย ส้วมสะอาด ปราศจากกลิ่นเหม็น จนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็น "ส้วมดีเด่น" แล้ว ภายในบริเวณวัดยังมีรูปปั้นหลวงปู่โต หลวงปู่ทวด ครูบาศรีวิชัย สมเด็จพระเจ้าตากสิน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระพิฆเนศวร องค์ท้าวจตุคามรามเทพ เจ้าแม่กวนอิมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกหลายหลาก ถามไถ่ได้ความว่าเป็นเพราะคนมาวัดท่าการ้องนี้ มีจากทั่วสารทิศ เจ้าอาวาสท่านจึงจัดให้ เพื่อใครที่นับถืออะไร จะได้ถือโอกาสกราบไหว้สักการะไปทีเดียว ไม่ต้องเดินทางไปหลายที่ให้เสียเวลา หากมีเวลาให้เดินดูข้อคิดคติธรรม ที่เขียนติดไว้ตามต้นไม้ เตือนใจผู้คนทั้งหลาย







ในแต่ละวันจะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศแห่มาไหว้พระ ชมส้วม ดูสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันนักขัตฤกษ์ จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แห่มาดูส้วมและสวนที่วัดแห่งนี้กันอย่างล้นหลามเลยทีเดียว สวนที่นี่ไม่ใช่จัดครั้งเดียวแล้วอยู่ไป 10 ปี แต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบย้ายโน่นจัดนี่เพิ่มนั่นกันแทบทุกเดือน เพื่อให้คนที่มาเที่ยววัด ไม่ต้องพบกับความซ้ำซากและรูปแบบเดิมๆ





หลังจากเรื่อง "ส้วม" ประสบผลสำเร็จ เพราะผู้คนจากทุกสารทิศที่มาพบเห็น ต่างพากันกล่าวขวัญกันไปทั่วประเทศแล้ว ทำให้มีผู้ทำบุญบริจาคเงินกับ วัดมาบ้าง จึงหันมาขยายพื้นที่ออกไปอีกเล็กน้อยและพัฒนาเรื่องสิ่งแวดล้อม จัดสวนสวยด้วยไม้ดอกไม้ ประดับและไม้ยืนต้นนานาชนิด โดยออกแบบเองทั้งหมด เพราะมีความชอบและเป็นคนรักต้นไม้ สร้างความร่มรื่นให้กับวัด เป็นการใช้ธรรมชาติเป็นสื่อเข้าถึงธรรมะ จะทำให้คนที่เข้ามาวัดพบกับความสะอาดตาเย็นกายเย็นใจและที่สำคัญคนเรา ต้องอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ เพราะหากขาดธรรมชาติหรือเมื่อธรรมชาติหมดไปเมื่อใด เมื่อนั้นเราก็จะพบกับความทุกข์





คิดไปคิดมาความคิดก็มาหยุดลงที่เรื่อง "ส้วม" เป็นอันดับแรก จึงสร้างส้วมให้ สะอาด ถูกสุขลักษณะ แถมยังติดแอร์เย็นฉ่ำ ตกแต่งประดับประดาด้วยม่านระย้าใน ห้องส้วมอย่างสวยงาม เป็นที่แปลกตาและน่าสนใจของผู้มาเที่ยว ที่สำคัญท่านเจ้าอาวาส ยังจัดห้องส้วมสำหรับบรรดา "ชายไม่จริงหญิงไม่แท้" ไว้ปลดทุกข์อีกต่างหาก





ผู้เป็นเจ้าของไอเดีย "สวนสวย ส้วมสะอาด ใช้ธรรมชาติผสานธรรมะ ดึงพุทธศาสนิกชนเข้าวัด" นั้นไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นพระครูสุทธิปัญญาโสภณ เจ้าอาวาสวัดท่าการ้อง ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นี่เอง พระครูฯได้เผยถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้วัดท่าการ้อง จากเดิมที่เป็นวัดร้าง กลายเป็นวัดยอดนิยมที่มี ผู้คนมาเที่ยวกราบไหว้พระมากแห่งหนึ่งและเป็น 1 ในโครงการไหว้พระ 9 วัด ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า หลังจากมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้ เมื่อปลายปี 2543 เห็นสภาพของวัด มีพระพำนักอยู่เพียงรูปเดียว เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่ของชุมชนชาวมุสลิมและขาดการบูรณะมานาน จึงมีความคิดว่าจะทำอย่างไร ที่จะทำให้วัดนี้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปและให้คนมาทำบุญกราบไหว้พระที่ วัดนี้มากขึ้น





เมื่อเดินเข้าไปที่วัดท่าการ้อง ก่อนเข้าโบสถ์ หลวงพ่อยิ้ม จะได้ยินเสียงมัคนายกซึ่งมีดีกรีเป็นถึง ผอ.โรงเรียน ร้องเรียกเชิญชวนให้ผู้มาเที่ยววัดดื่ม น้ำเย็นที่มีไว้บริการฟรี ถ้าร้อนนักก็แจกผ้าเย็นให้ เช็ดเหงื่อไคลที่ไหลย้อย มองดูแล้วเข้าท่า เรียกว่าบริการทุกระดับประทับใจ





"วัดท่าการ้อง ต้นแบบ "สวนสวย ส้วมสะอาด"

แทบไม่อยากเชื่อว่าเมื่อเดินเข้าไปที่วัดแห่งนี้แล้ว เหมือนกับกำลังเดินอยู่ในรีสอร์ตที่ไหนสักแห่ง

เพราะที่วัดนี้ มีการตกแต่งจัดภูมิทัศน์สถานที่อย่างสวยงาม ด้วยสวนสวยที่ร่มรื่นและรูปปั้นดินเผาหลากรูปแบบ ผิดไปจากวัดทั่วๆไป สร้างความน่าสนใจให้วัดแห่งนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นวัดที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร แม้เนื้อที่วัดจะมีเพียงน้อยนิดก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น